วันศุกร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2553

บันทึกครั้งที่ 16


วันพุธที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2553

-สอบปลายภาค

-ประเมินอาจารย์ผู้สอน
จากการเรียนได้รับความรู้ในเรื่องต่างๆมากมาย ทั้งหลักการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ให้กับเด็ก กระบวนการวิทยาศาสตร์ บทบาทของครู แนวการสอนต่างๆเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์
วิทยาศาสตร์ คือสิ่งที่อยู่รอบตัวเรา ทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต

บรรยากาศในการสอบ
ทุกคนตั้งใจทำข้อสอบกันมากค่ะ

บันทึกครั้งที่ 15

วันพุธที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2553

-ส่งงานการทำขอสอบ เทคนิควิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
-อาจารย์ถามเกี่ยวกับแหล่งข้อมูลอ้างอิง
-อาจารย์อธบายเพิ่มเติมคู่กับPower Point
อาจารย์ให้นักศึกษานำข้อสอบเทคนิควิทยาศาสาตร์กลับไปแก้ไขปรับปรุงสรุปเป็นความคิดรวบยอดของตนเองพร้องอ้างอิง
การสอนวิทยาศาสตร์ให้แก่เด็ก ครูควรมีการจัดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม มีการเปิดโอกาสให้เด็กได้สังเกต ทดลอง เรียนรู้หาคำตอบด้วยตนเอง และมีการกระตุ้นใช้คถามให้เด็กตอบ ให้เด็กคิดว่าวิทยาศาสตร์เป็นเรื่องที่สำคัญ น่าสนุก น่าตื่นเต้น อยากที่จะเรียนรู้
บรรยากาศในห้องเรียน
เย็นสบาย นักศึกษาตั้งใจเรียนดี

บันทึกครั้งที่ 14


วันพุธที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2553

-อาจารย์เพิ่มเติมเรื่องบทความการแสดงความคิดเห็นเรื่องบทความเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
-มอบหมายงานข้อสอบเทคนิควิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

บรรยากาศในห้องเรียน
นักศึกษาตั้งใจเรียนดี มีการนั่งเรียนแบบรูปเกือกม้า

บันทึกครั้งที่ 13

วันพุธที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2553

ไม่ได้มาเรียน เนื่องจากไม่สบายค่ะ
- อาจารย์ให้จับกลุ่มทำmind map กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ใหม่
มีหน่วย ผัก, ผลไม้ ,ร่างกาย,สัตว์-อาจารย์มอบหมายงานบทความ
กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ มี การสังเกต การจำแนกประเภท การคำนวณ การหามิติสัมพันธ์ การลงความเห็น การพยากรณ์ ฯลฯ

บันทึกครั้งที่ 12

วันพุธที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2553

-นำเสนอการสรุปผลการจัดกิจกรรมที่โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม
-การจับกลุ่มทำกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เป็นหน่วย (หน่วยผลไม้ )
ทำเป็น Mint map

บรรยากาศในห้องเรียน
เพื่อนๆทุกคนตั้งใจฟังสรุปการจัดกิจกรรมที่โรงเรียนสาธิตเป็นอย่างดี


วันอาทิตย์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2553

บันทักครั้งที่ 11

วันพุธที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2553
หนูรอเข้าฐานกิจกรรมวิทยาศาสตร์ค่ะ
วิทยาศาสตร์ เรื่องน้ำค่ะ

วิทยาศาสตร์ คลื่นเสียงค่ะ(พายุหมุน)

-ลงจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ที่โรงเรียนสาธิตมหาลัยราชภัฎจันเกษม ในวันศุกร์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ 2553
มี 4 ฐาน ได้แก่ ฐานมหัศจรรย์ของน้ำ, เสียง ,อากาศ, แสง
(อยู่กลุ่มน้ำมหัศจรรย์ค่ะ)

บรรยากาศในการจัดกิจกรรม
นักศึกษาทุกคนมีความกระตือรือร้น และจัดกิจกรรมผ่านไปด้วยความราบรื่นดี

วันพฤหัสบดีที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2553

บันทึกครั้งที่10

การประดิษฐ์กระเป๋าจากกล่องนมเพื่อช่วยลดปัญหาภาวะโลกร้อนค่ะ
ผลงานสื่อวิทยาศาสตร์สอนเรื่องแสงค่ะ

วันพุธที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2553

การนำเสนอสื่อวิทยาศาสตร์ของแต่ละกลุ่ม
-กลุ่ม 1 ชั้นใส่ของจากกล่องรองเท้า,กล่องเปลี่ยนสี
-กลุ่ม 2 โคมไฟ,กล่องดูดาว
-กลุ่ม 3 หุ่นโชว์,เครื่องเคาะจังหวะ
-กลุ่ม 4 กระเป๋าจากกล่องนม,บ้านแสงสว่าง (กลุ่มข้าพเจ้าเองค่ะ)
การนำเสนอการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
-เรื่องน้ำ
-เรื่องอากาศ
-เรื่องแสง
-เรื่องเสียง

บรรยากาศในห้องเรียน
อากาศเย็นสบาย

วันจันทร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2553

บันทึกครั้งที่ 9

ศึกษาดูงานโรงเรียนสัตหีบค่ะ
คุณครูสอนกิจกรรมการเคลื่อนไหวค่ะ



หนูๆกำลังตั้งใจเรียนค่ะ


วันพุธที่ 18 สิงหาคม พ.ศ.2553

นักศึกษาชั้นปีที่ 3 และ 4 ไปเข้าค่ายที่ อ.สัตหับ จ.ชลบุรี

วันจันทร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2553

บันทึกครั้งที่ 8

วันพุธที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากเป็นช่วงสอบกลางภาคค่ะ

วันจันทร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2553

บันทึกครั้งที่ 7

พิธีไหว้ครูและพิธีบายศรีค่ะ


วันพุธที่ 4 ส.ค. พ.ศ. 5253

มีกิจกรรมไหว้ครูและบายศรีของคณะศึกษาศาสตร์ สาขาการศึกษาปฐมวัย

วันอังคารที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2553

บันทึกครั้งที่ 6

วันพุธที่ 28 ก.ค. พ.ศ. 2553

ชมวิดิทัศน์เรื่องมหัศจรรย์ของน้ำ
-การเปลี่ยนสถานะ
-แรงดันของอากาศ

-แรงตึงผิว
-ปรากฎการท่อรูเข็ม
สรุปความรู้ทีได้

บรรยากาศในห้องเรียน
เย็นสบาย ทุกคนตั้งใจฟังชมวิดิทัศน์เป็นอย่างดี

วันศุกร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

บันทึกครั้งที่ 5

วันพุธที่ 21 ก.ค พ.ศ.2553

นำเสนอโครงการที่แก้ไข
หาสาเหตุที่เกิดภาวะโลกร้อน วิธีที่ช่วยลดภาวะโลกร้อนพร้อมแหล่งที่มา

บรรยากาศในห้องเรียน
เย็นสบาย ทุกคนตั้งใจเรียนดี

วันพฤหัสบดีที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

บันทึกครั้งที่ 4

ตะกร้าจากกล่องนมค่ะ
วันพุธที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ.2553

วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มออกมานำเสนอโครงการที่ให้เด็กตระหนักถึงภาวะโลกร้อน
โครงการของแต่ละกลุ่ม
1.โครงการกระถางต้นไม้สุดประหยัดจากขวดพลาสติก
2.โครงการแม่ลูกช่วยกันระบายสีถุงผ้าลดโลกร้อน
3.โครงการการประดิษฐ์ตะกร้าจากกล่องนม
4.โครงการลดภาวะโลกร้อนของเด็กปฐมวัย
5.โครงการถังขยะอัจฉริยะ

บรรยากาศในห้องเรียน
อากาศไม่ค่อยเย็นมากนัก นักษาตั้งใจเรียนดี

วันพุธที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

บันทึกครั้งที่ 3

วันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ 2553
วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาส่งตัวแทนของแต่ละกลุ่มออกมานำเสนอกิจกรรมที่ให้เด็กสามารถช่วยลดปัญหาภาวะโลกร้อน ดังนี้
กลุ่มที่1 เป็นกิจกรรมที่ให้เด็กนำถุงผ้ามาตกแต่งใช้แทนถุงพลาสติก
กลุ่มที่2 เป็นกิจกรรมที่ให้เด็กนำขวดพลาสติกหรือขวดน้ำที่ไม่ใช้มาประดิฐเป็นกระถางต้นไม้และให้เด็กๆช่วยกันปลูกต้นไม้ลงในกระถางที่ได้ช่วยกันประดิฐขึ้น
กลุ่มที่3 เป็นกิจกรรมที่ให้เด็กๆช่วยกันเรียงภาพลำดับเหตุการที่ก่อให้เกิดปัญหาภาวะโลกร้อน
กลุ่มที่4 เป็นกิจกรรมที่ให้เด็กๆนำถุงพาสติกหรือถุงขยะมาประดิฐเป็นกระโปรง เป็นเสื้อ เพื่อช่วยลดปัญหาภาวะโลกร้อนและเป็นการส่งเสริมสถาบันครอบครัวเมื่อเด็กได้มีการทำกิจกรรมร่วมกันกับคนในครอบครัวรวมทั้งทำให้เด็กเห็นถึงคุณค่าของขยะอีก

กลุ่มที่5 เป็นกิจกรรมที่ให้เด็กๆช่วยกันเก็บขยะในโรงเรียนและทำการแยกขยะทิ้งลงถังขยะให้ถูกต้อง โดยให้เด็กๆช่วยกันทำสัญลักษณ์ของถังขยะแต่ละประเภทนำมาติดที่ข้างหน้าถังขยะเพื่อเป็นการช่วยให้เราทิ้งขยะลงถังได้ถูกประเภท
บรรยากาศในห้องเรียน
วันนี้อากาศเย็นสบาย ทุกคนตั้งใจเรียนดี

วันจันทร์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

บันทึกครั้งที่ 2

วันพุธ ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ 2553

วันนี้มีการปฐมนิเทศนักศึกษา
1.ทำข้อตกลงกับนักศึกษา คือ
1.1การมาเรียน ถ้าไม่มาเรียนก็ต้องมีการบันทึกลงบล็อก
1.2การแต่งกาย ร้องเท้า เข็มขัด เสื้อ กระโปรงต้องถูกระเบียบ
2.อาจารย์เริ่มนำเข้าสู้เนื้อหาบทเรียน มีการซักถามนักศึกษาถึงความหมายของเด็กปฐมวัยเป็นอย่าง
ไรมีลักษณะอย่างไรเพื่อทบทวนความรู้เดิม
เด็กปฐมวัยคือเด็กที่มีลักษณะต่างๆกันหรือเหมือนกันเช่นเด็กขี้อาย เด็กกล้าแสดงออก ขึ้นอยู่กับพัฒนาการ อายุ และการเลี้ยงดู
3.อาจารย์สอนนักศึกษาและเปิด power point เรื่อง ความหมายของวิทยาศาสตร์
-วิทยาศตร์ คือ ความหมายของมนุษย์ที่จะเรียนรู้และทำความเข้าใจกับสิ่งรอบตัวและตัวตนของตนเอง
-ความพยายามเช่นนี้ติดตัวของมนุษย์มาแต่แรกเกิดซึ่งสะท้อนให้เห็นจากธรรมชาติของเด็กที่มีความอยากรู้อยากเห็นและคอยซักถาม
-การทำความเข้าใจกับสิ่งแวดล้อมรอบตัวตนของตนเองโดยการสังเกตและคอยซักถามเกี่ยวกับสิ่งต่างๆที่พวกเธอเขาเจอ ช่วยเชื่อมโยงเซลล์สมองของเด็กส่งเสริมให้เด็กคิด

อธิบายเพิ่มเติม
-เด็กแรกเกิด 0-2 ปี จะเป็นช่วงที่ใช้ประสาทสัมผัสได้ดี
-เด็กอายุ 2-4 ปี จะอยู่ในขั้นก่อนปฏิบัติการ เริ่มมีรูปฟอร์ม ใช้คำเป็นคำๆมากขึ้น
-เด็กอายุ 4-6 ปี จะเริ่มใช้คำพูดเป็นประโยค มีคำถามมากขึ้น
-สมองเปรียบเสสมือนกระดาษหรือผ้าขาว สมองสั่งงานพัฒนาการทางสมองมีการซึมซับข้อมูลใหม่ๆ การปรับให้เป็นความรู้ใหม่จากการซึมซับปรับตัวเพื่อความอยู่รอด

ถ้าผู้ใหญ่ไม่เข้าใจธรรมชาติของเด็ก
-ปิดกั้นโอกาสทางการเรียนรู้ของพวกเขาโดยการไม่ให้ความสนใจกับคำถาม
-ไม่ให้ความสนใจค้นพบแบบเด็กๆ
-ไม่จัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่จะส่งเสริมและต่อยอดทักษะและแนวคิดที่ถูกต้องให้กับเด็กอย่างเหมาะสม
ทบทวนบทบาท
-เปิดโอกาสทางการเรียนรู้ของพวกเขาโดยการให้ความสนใจกับคำถาม
-ให้ความสนใจกับการค้นพบแบบเด็กๆ
-จัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่ส่งเสริมและต่อยอดทักษะและแนวคิดที่ถูกให้กับเด็ก
-ครูและผู้ปกครองยอมรับในเรื่องจินตนาการที่มีอยู่ของเด็กวัยนี้
-ครูต้องแม่นยำในพัฒนาการของเด็ก เพื่อที่จะจัดการเรียนรู้ได้สอดคล้องกับพัฒนาการความสามารถของเด็ก

อาจารย์ให้นักศึกษาสรุปความรู้ที่ได้จากการเรียนในวันนี้คนละ 5 บรรทัด
วันนี้เรียนเรื่องของความหมายของวิทยาศาสตร์ วิยาศาสตร์เป็นความพยายามของมนุษย์ที่จะเรียนรู้สิ่งรอบตัวและตัวตนของตนเอง และเรียนรู้ใสมองเปรียบเสมือนกระดาษหรือผ้าขาว มีการซึมซับและเกิดการเรียนรู้สิ่งใหม่ และเรียนรู้เรื่องพัฒนาการของเด็กแรกเกิด 0-2 ปี จะเป็นช่วงที่ใช้ประสาทสัมผัสมาก เด็กอายุ2-4 ปี เป็นเด็กที่อยู่ในช่วงขั้นก่อนปฏิบัติการ มีการใช้คำมากขึ้น และเด็กอายุ 4-6 ปี เป็นช่วงที่เริ่มใช้คำเป็นประโยคและถามคำถามมากขึ้น

อาจารย์ให้นักศึกษาจับกลุ่มสรุปความรู้ของแต่ละคนเป็นคนเป็นกลุ่ม
สรุปได้ดังนี้ 1.ช่วงอายุของเด็ก 0-2 ปี เป็นช่วงที่เด็กใช้ประสาทสัมผัส
2-4 ปี เป็นช่วงที่เด็กใช้คำมากขึ้น
4-6 ปี เป้นช่วงที่เด็กใช้คำที่มีประโยคและเริ่มมีคำถาม
2.ความหมายของวิทยาศาสตร์
คือ ความพยายามของมนุษย์ที่จะเรียนรู้สิ่งแวดล้อมรอบตัวและตัวตนของตนเอง
3.ผู้ใหญ่มีบทบาทสำคัญต่อการส่งเสริมพัฒนาการของเด็ก
4.สมองทำงานเหมือนผ้าขาวหรือกระดาษ มีการซึมซับเพื่อให้เกิดความรู้ใหม่และการดำรงชีวิตเพื่อความอยู่รอด
5.วิธีการและแนวทางในการสอนให้เด็กได้มีการส่งเสริมทักษะและแนวทางที่ถูกต้องเหมาะสม

อาจารย์เปิดวิดิทัสน์เรื่องเกี่ยวกับภาวะโลกร้อนให้นักศึกษาดูและมอบหมายงานให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มไปหากิจกรรมของเด็กที่ช่วยลดภาวะโลกร้อน (ได้เด็ก5ขวบ) มานำเสนอเล่าสู่กันฟังคาบหน้า

บรรยากาศในห้องเรียน
เพื่อนๆทุกคนตั้งใจเรียน อากาศในห้องเรียนไม่ค่อยเย็นสบายมากนัก

วิชา การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ( ครั้งที่1 )


วัน พุธ ที่ 23 มิถุนายน 2553

1.วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากนักศึกษาได้ขออนุญาติอาจารย์ไปปฏิบัติกิจกรรมรับน้องของทางมหาวิทยาลัย
2.อาจารย์สั่งให้นักศึกษาสร้างบล็อกไว้เพื่อเป็นแฟ้มสะสมผลงานของรายวิชา การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย